หมอลำ
หมอลำ เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ เช่น ลำเต้ย ลำกลอน ลำเรื่อง ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน ลำซิ่ง รวมทั้ง ลำตัดในภาคกลางก็จัดได้ว่าเป็นหมอลำประเภทหนึ่ง
คำว่า "หมอลำ" มาจากคำ 2 คำมารวมกัน ได้แก่ "หมอ" หมายถึง ผู้มีความชำนาญ และ "ลำ" หมายถึง การบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองอันไพเราะ ดังนั้น หมอลำ จึงหมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองเพลง
- หมอลำเรื่อง
อาจารย์ฉลาด ส่งเสริม หรือ ป.ฉลาดน้อย ศิลปินแห่งชาติปี พ.ศ. 2549 สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) เป็นหมอลำเรื่องต่อกลอน ที่มีความโดดเด่นเป็นที่รู้จักในด้านน้ำเสียงที่ก้องกังวาลเป็นแบบฉบับเฉพาะตัว เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ที่บ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี สมรสกับนางสมบูรณ์ ส่งเสริม มีบุตร 3 คน คือ นายอติชาติ ส่งเสริม นางสาววาสนา ส่งเสริม และเด็กหญิงจารุวรรณ ส่งเสริม
- หมอลำหมู่
หมอลำหมู่ เป็นลำหมู่ ตามรูปศัพท์ หมายถึงการร้องเป็นหมู่ ความจริงลำหมู่เป็นการแสดงของกลุ่มศิลปินหมอลำหมู่ การลำหมู่เพิ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อประมาณ 50-60 ปี สิ่งที่เกิดมาก่อนลำหมู่คือ ลำพื้นและลิเก ซึ่งเป็นการละเล่นของชาวไทย ในภาคกลาง ลำหมู่ได้แบบอย่างการแต่งกายมาจากลิเก และได้แบบอย่างการลำมาจาการลำพื้นและลำกลอน คณะหมอลำหมู่ประกอบด้วยคน 15-30 คน ตัวละครประกอบด้วย พระราชา พระราชินี เจ้าชาย เจ้าหญิง คนใช้ พ่อ แม่ ลูกชาย ลูกสาว ฤาษี เทวดา และภูตผี คนใช้ปกติจะแสดงเป็นตัวตลกด้วยหมอลำ แต่ละคนจะสวมใส่เครื่องตามบทบาทในท้องเรื่อง
- หมอลำกลอน
หมอลำกลอน เป็นกลอน หมายถึง บทร้อยกรองต่างๆ เช่น โคลง.ร่าย หรือ กาพย์กลอน "หมอลำกลอน" ตามรูปศัพท์แล้ว หมายถึง หมอลำที่ลำโดยใช้บทกลอน ซึ่งความจริงแล้วหมอลำกลอนล้วนแต่ใช้กาพย์กลอนเป็นบทลำทั้งสิ้น ที่ได้ชื่อว่าเป็น "หมอลำกลอน" นั้นก็เพื่อที่จะแยกให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างหมอลำพื้น ซึ่งปรากฏว่าหมอลำสองชนิดนี้ในขณะเดียวกัน หมอลำกลอนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในขณะที่หมอลำพื้นได้ค่อยๆสูญหายไป
- หมอลำผญา
ลำผญาหัวดอนตาลของชาวบ้านชุมชนบ้านนาสะโน เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาแต่โบราณไม่ปรากฏหลักฐานว่าเกิดขึ้นเมื่อใด มีเพียงคำบอกเล่าของศิลปินลำผญาย่อยรุ่นเก่า ความว่า
ลำผญาย่อยหัวดอนตาล เป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวอีสานมาแต่โบราณนอกจากลำ ผญาย่อยแล้ว ยังปรากฏลักษณะการแสดงพื้นบ้านของชาวลาว ที่มีความคล้ายคลึงกับลำผญาย่อยหัวดอนตาลที่เรียกว่า ลำบ้านซอก คอนสวรรค์ สีทันดร สาละวัน อันเป็นลักษณะท่วงทำนอง และลีลาการลำที่ไกล้เคียงกัน ส่วนการแสดงแบบใดมาก่อนหรือหลังไม่ปรากฏหลักฐานที่สามารถชี้ชัดได้ ลำผญาย่อยของชาวอีสาน และลำบ้านซอก คอนสวรรค์ของชาวลาวมีพัฒนาการมาพร้อมๆกัน แต่ลัษณะของลำผญาย่อยหัวดอนตาลที่ปรากฏเป็นของชาวชุมชนดอนตาลแต่ดั้งเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น